LMOOC012 : โครงสร้างอำนาจหน้าที่ของ อปท. เบื้องต้น

เกี่ยวกับรายวิชา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานในการจัดบริการสาธารณะในระดับพื้นที่เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและเพื่อให้เกิดการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา การสาธารณสุข และด้านอื่น ๆ ตามภารกิจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในพื้นที่ตามอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหลักการในการมีรูปแบบการปกครองท้องถิ่นก็เพื่อช่วยลดปัญหาและแบ่งเบาภาระรัฐบาลในการจัดบริการสาธารณะ เพื่อให้เกิดความทั่วถึงในการจัดบริการสาธารณะ อีกทั้ง เพื่อให้เกิดการกระจายการพัฒนาเพราะการปกครองท้องถิ่นมีความสำคัญในฐานะเป็นกลไก ในการกระจายทรัพยากรการพัฒนาของรัฐไปสู่ชนบทได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะมีการกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่และมีอำนาจในการบริหารจัดการตนเองตามกฎหมาย และที่สำคัญการปกครองท้องถิ่นทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในหลักการ รูปแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในเบื้องต้น เพราะเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองไม่ว่าจะโดยการเลือกตั้ง การสมัครรับเลือกตั้ง หรือการตรวจสอบการกำกับดูแล การปฏิบัติหน้าที่ของสภาท้องถิ่น หรือคณะผู้บริหารท้องถิ่นซึ่งจะมีผลให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบการปกครองในระดับประเทศ หากจะกล่าวถึงการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องพิจารณาจากกฎหมายต่าง ๆ ที่ให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการจัดบริการสาธารณะในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเป็นไปตามหลัก “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ” หรือ “ทำได้เท่าที่มีกฎหมายบัญญัติไว้” โดยกฎหมายที่ให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะสามารถพิจารณาได้จาก ๔ กรณี กล่าวคือ ๑. กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พระราชบัญญัติเทศบาล และพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด) โดยกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ว่าสามารถดำเนินการจัดบริการสาธารณะในเรื่องใดได้บ้าง ๒. กฎหมายเฉพาะที่กำหนดให้การจัดบริการสาธารณะบางเรื่องเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น กฎหมายควบคุมอาคาร กฎหมายขุดดินถมดิน กฎหมายหอพัก กฎหมายภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง กฎหมายการสาธารณสุข กฎหมายรักษา ความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นต้น ซึ่งภารกิจดังกล่าวอาจมิได้กำหนดในกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการจึงต้องกำหนดไว้เป็นการเฉพาะในกฎหมายดังกล่าว ๓. กฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดกลไกการถ่ายโอนภารกิจบางเรื่องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยดำเนินการแทนซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้เป็นการเฉพาะ เช่น การถ่ายโอนทางหลวงชนบท การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลการถ่ายโอนแหล่งน้ำ การจดทะเบียนพาณิชย์ นมโรงเรียน/อาหารกลางวัน เป็นต้น และ ๔. นโยบายรัฐบาลซึ่งรัฐบาลเล็งเห็นว่าการจัดบริการสาธารณะบางเรื่องหากให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการจะดำเนินการได้ดีกว่าส่วนราชการดำเนินการเอง เพราะอาจมีความพร้อมด้านงบประมาณ บุคลากรและเครื่องมือ และเข้าใจพื้นที่ จึงมอบหมายภารกิจในเรื่องนั้น ๆ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ เช่น การบริหารจัดการขยะ เป็นต้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของ สถ. และ อปท. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดโครงสร้างอำนาจหน้าที่ของ อปท.

รายละเอียดคอร์สเรียน

ข้อควรทราบ

หากเร่งความเร็ว หรือกดข้ามวิดีโอการสอน

จะไม่สามารถดาวน์โหลดใบประกาศนียบัตรได้

ต้องดูวิดีโอการสอนในความเร็วปกติ ครบทั้งหมดวิดีโอเท่านั้น

และต้องสอบท้ายบทเรียนให้ ผ่าน 60% ขึ้นไป



วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของ สถ.

และ อปท. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดโครงสร้างอำนาจหน้าที่ของ อปท.

๒. เพื่อให้ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของ สถ.

และ อปท. ทราบถึงข้อดีและปัญหาของการปกครองท้องถิ่นไทย เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นไทยในอนาคต

๓. เพื่อให้ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของ สถ.

และ อปท. ทราบถึงความสำคัญของการปกครองท้องถิ่นไทย

เกี่ยวกับเรา

Profile

นาย ธณาวุธ เหล่าเจริญพาณิชย์

LMOOC012 : โครงสร้างอำนาจหน้าที่ของ อปท. เบื้องต้น

-

แพ็คเกจเรียน

ไม่จำกัดเวลา

ในราคา

คอร์สเรียนฟรี

โปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง